การพูดในที่ชุมนุม คือ การสนทนาที่ได้ขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น
เป็นการสื่อสารอย่างมีจุดมุ้งหมาย
การพูดในที่ชุมชน คือ การพูดในที่สาธารณะ มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ผู้พูดต้องสนใจปฏิกิริยาตอบสนองผู้ฟัง ทั้งเป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษา การพูดต่อหน้าประชุมชนเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้พูดได้แสดงความสามารถ เฉพาะตัวเพราะทุกคนที่ไม่เป็นใบ้ย่อมพูดได้ แต่บางคนเท่านั้นที่พูดเป็น เพราะการพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่จำเป็นต้องอาศัยพรสวรรค์เสมอไป แต่สามารถพูดได้ เพราะการศึกษา การฝึกฝน ฉะนั้นการฝึกพูดในที่ประชุมชน ซึ่งเป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการปรับปรุงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอกเพื่อ การเป็นนักพูดที่ดี |
วิธีการพูดในที่ชุมชน |
1. พูดแบบท่องจำ เตรียมเรื่องพูดอย่างมีคุณค่า สาระถูกต้องเหมาะสม แล้วจำเรื่องพูดให้ได้ เวลาพูดให้เป็น ธรรมชาติ มีลีลา จังหวะ ถ่ายทอดออกมาทุกตัวอักษร 2. พูดแบบมีต้นฉบับ พูดไปอ่านไป จากต้นร่างที่เตรียมมาอย่างดีแล้ว แต่ไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาอ่าน เพราะไม่ใช่ ผลดีสำหรับผู้พูด 3. พูดจากความเข้าใจ เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า ถ่ายทอดสารจากความรู้ความเข้าใจของตนเอง มีต้นฉบับ เฉพาะหัวข้อสำคัญเท่านั้น เช่น การพูด , สนทนา , อภิปราย , สัมภาษณ์ 4. พูดแบบกะทันหัน พูดโดยไม่มีโอกาสเตรียมตัวเลย ซึ่งผู้พูดต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในกา รแก้ปัญหาฉพาะหน้า เมื่อทราบว่าตนเองต้องได้พูด ต้องเตรียมลำดับความคิด และนำเสนออย่างฉับพลัน การพูดทั้ง 4 แบบนี้ เป็นวิธีการนำเสนอสารต่อผู้ฟัง ผู้พูดจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย เพื่ออะไร เนื้อหาสาระ โอกาส และสถานการณ์ |
1. การเตรียมตัวที่ดี : การคิด การอ่าน การพูด ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
(ควรมีการเตรียมข้อมูลอย่างน้อย 2 สัปดาห์)
2. บอกตัวเองว่า การตื่นเต้นไม่ได้เกิดกับเราเพียงคนเดียว
3. บอกตัวเองว่า นี้คือส่วนหนึ่งของการเล่นเกมส์ เพราะต้องเผชิญกับสภาวะ
การถูกทดสอบว่า
เราเล่นสำเร็จหรือไม่
4. มองภาพคนฟังทุกคนให้เป็นมิตรอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมากคนพูดที่เกิด
อาการประหม่า เพราะกลัวคนฟัง
5. มีสมาธิ ไม่วอกแว่กเอาใจใส่กับเนื้อหาสาระที่พูด
6. การผ่อนคลาย ความเครียด ในขณะรอพูด จงบอกตัวเองว่า
"ทำใจให้สบาย เราทำได้"
ให้พูดออกไปด้วยความมั่นใจ เพราะเราพูดในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้
แต่เราทำมากับมือ
7. เรามักถามตัวเองเสมอว่า "นี้เราจะทำสำเร็จหรือไม่"
" เราจะทำได้ " ขอให้ท่านลงมือทำ และทำให้ดีที่สุด เท่าความสามารถที่มี
8. ขอให้ก้าวออกมาเริ่มต้นครั้งแรก และจะพัฒนาได้ในครั้งต่อๆ ไป
(ประสบการณ์ คือบทเรียน)
ลักษณะการพูดที่ดี
1. ออกเสียงให้ชัดเจน
-คำที่นำมาใช้ต้องการความหมาย
ภาษาอังกฤษต้องแปล
-วรรคตอนดี ถูกต้อง
-อักษรควบกล้ำ
-วางหัวข้อก่อน-หลังให้ชัดเจน
-น้ำหนักของเสียง (อันไหนเน้นต้องเน้น)
2. ความถูกต้องแม่นยำ
-ตรวจสอบข้อมูลของผู้ฟังให้ถูกต้องก่อนพูด
-ไม่ควรใช้ำคำย่อ เช่น พ.ศ., กกต. ฯลฯ
-ข้อมูลตรงกับความจริง
3. ความน่าสนใจ
-การแต่งการให้ร่วมสมัย -แต่งตัวให้อ่อนกว่าอายุ
-ความเชื่อมั่นที่แสดงออก เหมาะสมไม่ก้าวร้าว
-มีความเป็นมิตร สบายๆ แสดงออกทางสีหน้าและแววตา
-การใช้เสียง ต้องมีพลัง สามารถควบคุมได้
-เรื่องราวที่นำมาพูดต้องทันเหตุการณ์เสมอ
-การเคลื่อนไหวร่างกายในขณะพูด เมื่อพูดจบแต่ละเรื่องราว ควรเว้นความต่อเนื่อง
นักพูดที่ดี
1. มีสมาธิ เอาใจใส่ต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่
2. มีความกระฉับกระเฉง สนใจสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว กระตือรือล้น มีชีวิตชีวา
3. ต้องเป็นคนมีความคิด รอบคอบ ไม่ใช่เพียงเพื่อขอให้ได้พูด
4. สำนึกในความรับผิดชอบ
-รับผิดชอบต่อผู้ฟัง พูดในสิ่งที่มีประโยชน์คุ้มค่าต่อเวลา
-รับผิดชอบต่อบุคคลิ่นที่ร่วมอยู่ในรายการ
-รับผิดชอบต่อหัวข้อเรื่อง เนื้อหาที่นำมาพูดได้ความชัดเจน
5. มีลักษณะผู้นำ (ยืนตัวตรง , เปิดเผยตัวเองในที่สาธารณะชน)
6. รู้จักประมาณตน ถ่อมตน รู้จักทำใจให้เป็นกลาง รู้จักตัวเองมีเหตุผล มีสติ สุขภาพจิตดี
การใช้ทัศนูปกรณ์
1. มีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจนจากทุกมุมห้อง
2. การบรรยายประกอบควรยืนด้านข้างอุปกรณ์
3. ควรศึกษาทำความเข้าใจอุปกรณ์ก่อนการบรรยาย
4. ถ้าจำเป็นต้องถืออุปกรณ์ด้วยตัวเอง ควรไว้ด้านหน้า หรือด้านข้างลำตัว
เนื่องจากอุปกรณ์ที่นำเสนอ เป็นประโยชน์ต่อคนฟัง ไม่ใช่คนพูด
5. การวาดภาพบนกระดานดำ ควรมีการฝึกมาก่อน
6. เอกสารแจกผู้ฟัง ควรมากพอเท่าจำนวนผู้ฟัง ไม่ควรใช้การหมุนเวียน
กรณีเอกสารมีน้อยจะทำให้เกิดความวุ่นวายสับสน
7. หัวข้อทเรื่องเนื้อหาของการพูด ควรใช้กระดาษบันทึกขนาดเล็ก ใส่หมายเลขตามลำดับก่อนหลังตามลำดับ
ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ
การพูด : เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ และก็ แล้วอ้า คิดว่า ควร
วลีที่ปราศจากความหมาย : อะไรเนี๊ยะ อะไรพวกเนี๊ยะนะฮะ พูดใช้ได้ ดีพอสมควร ใช้ได้ดีพอสมควร เหล่าเนี๊ยะนะฮะ ............นะคะ .............นะครับ ฯลฯ
อากัปกิริยาที่ต้องห้าม
: แกว่ง
: โยก
: เขย่า
: กระดิกร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
: เล่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะพูด ควรวางมือขวาทับมือซ้าย ประมาณใต้เข็มขัด
: แลบลิ้น
: หัวเราะจนตัวงอ
: ไม่มองหน้าผู้ฟัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น